วิธีต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ต้องเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

วิธีต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ต้องเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ENNXO
/
Blog
/
วิธีต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ต้องเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

แชร์

Share on Line
อัพเดทล่าสุด: 14 มิ.ย. 2567

การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกท่านต้องดำเนินการต่อภาษีเป็นประจำทุกปี ซึ่งวิธีการต่อภาษีรถยนต์ต้องทำอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไรในการต่อภาษีรถยนต์แต่ละครั้ง วันนี้เราพร้อมไขข้อสงสัยทั้งหมดแล้วที่นี่

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

ภาษีรถยนต์ คือใบสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีฟ้าชมพูขนาดเล็ก จะมีปี พ.ศ. ระบุวันหมดอายุ ซึ่งผู้ขับขี่จะต้องคอยสังเกตวันหมดอายุ และต้องดำเนินการต่อภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี โดยภาษีรถยนต์ที่เราจ่ายกันไปนั้น ทางหน่วยงานภาครัฐจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงระบบคมนาคมในประเทศให้ดีขึ้น ซึ่งก่อนจะไปต่อภาษีรถยนต์ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง เช็กเลย 

ป้ายภาษีรถยนต์

วิธีต่อภาษีรถยนต์ประจำปี เพื่อการขับขี่อย่างถูกกฎหมาย

การต่อภาษีรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถทุกท่านต้องดำเนินการ ไม่ว่ารถในครอบครองของท่านจะเป็นรถมือหนึ่งหรือรถมือสอง เพราะเมื่อใดที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จะต้องเสียค่าปรับด้วย โดยการต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนที่ภาษีรถยนต์จะหมดอายุ ซึ่งเราได้รวบรวมวิธีการและเอกสารทั้งหมด เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี และเพื่อการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัยอีกด้วย

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์

ขั้นตอนสำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้นทำได้ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ โดยวิธีการต่อภาษีรถยนต์แบบออนไลน์สามารถเลือกได้ 2 ช่องทางด้วยกัน คือการต่อภาษาผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ซึ่งขั้นตอนมีดังนี้

1. ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก 

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์
  • เข้าไปยังเว็บไซต์ eservice.dlt.go.th
  • สำหรับสมาชิกใหม่ ต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน
  • เมื่อได้รหัสผ่านแล้ว สามารถ Log-in เข้าสู่ระบบ
  • เลือกเมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
  • กรอกข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ของท่าน
  • กรอกข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองรถ ซึ่งรถทุกคันจะมีข้อมูลส่วนนี้อยู่แล้ว หากไม่มีสามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้จากในระบบทันที
  • เลือกช่องทางชำระเงิน สามารถชำระได้โดยการหักจากบัญชีเงินฝาก, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต หรือพิมพ์ใบชำระเงินเพื่อนำไปจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส/ตู้ ATM และแอปพลิเคชันของธนาคารได้
  • เมื่อชำระเสร็จแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ. มาให้ตามที่อยู่ที่ท่านได้กรอกไว้
  • สามารถนำใบที่ได้นั้นไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  • 2. ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

    แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ผ่าน App Store หรือ Play Store
  • กรอกข้อมูลชื่อ - สกุล อีเมล เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และเบอร์โทรศัพท์ หลังจากนั้นกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”
  • กรอกรหัส OTP ที่ส่งเข้าอีเมล จากนั้นกด “ยืนยัน”
  • ตั้งรหัส PIN 6 หลักสำเร็จ เท่ากับการลงทะเบียนเสร็จสิ้น
  • เข้ามาในแอปเลือกเมนู “ชำระภาษีรถ”
  • เลือกรูปแบบชำระภาษี
  • กรอกข้อมูลเลขบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ
  • เลือกประเภทรถ และกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  • กรอกข้อมูลประกันภัย (พ.ร.บ.)
  • เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถยนต์ได้ทางไปรษณีย์ หรือตู้ Kiosk ที่มีเฉพาะในกรุงเทพฯ 
  • เลือกช่องทางการชำระเงินทำได้ 2 ช่องทาง คือ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน
  • ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง

    หากท่านใดไม่สะดวกในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์  สามารถดำเนินการต่อภาษีแบบออฟไลน์ได้ โดยการต่อภาษีรถยนต์สามารถไปต่อที่ไหนได้บ้าง เราได้รวบรวมมาให้แล้ว 6 สถานที่ด้วยกัน ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ 
  • ที่ทำการไปรษณีย์ มีค่าธรรมเนียม 40 บาท
  • ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)” ห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถดำเนินการได้เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศไทย แต่จะต่อภาษีรถยนต์ได้เฉพาะรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี มีค่าธรรมเนียม และค่าจัดส่งเอกสารรวมกัน 60 บาท
  • รถยนต์

    ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่

    รู้หรือไม่ ในการต่อภาษีรถยนต์นั้นจะมีวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป ตามประเภทของรถยนต์ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้

    1.ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet

    โดยการต่อภาษีรถยนต์ทั่วไป คือรถที่คนส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถกระบะ หรือรถที่มีน้อยกว่า 7 ที่นั่ง จะมีวิธีการคำนวณตามขนาดซีซี (CC) ของเครื่องยนต์ สามารถแบ่งตามขนาดซีซีได้ดังนี้

    ป้ายทะเบียนพื้นหลังขาว ตัวหนังสือสีดำ
    • เครื่องยนต์ 1 - 600 CC คำนวณค่าภาษีรถยนต์ ตก CC ละ 50 สตางค์
    • เครื่องยนต์ 601 - 1,800 CC คำนวณค่าภาษีรถยนต์ ตก CC ละ 1.50 บาท
    • เครื่องยนต์ 1,801 CC ขึ้นไป คำนวณค่าภาษีรถยนต์ ตก CC ละ 4 บาท

    สำหรับรถยนต์ที่มีการใช้งานเกินกว่า 5 ปี จะมีการลดหย่อนภาษีให้เป็นพิเศษ โดยสามารถคำนวณได้ ดังนี้ 

    • รถยนต์ที่ใช้งานตั้งแต่ 6 ปี ลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ 10%
    • รถยนต์ที่ใช้งานตั้งแต่ 7 ปี ลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ 20%
    • รถยนต์ที่ใช้งานตั้งแต่ 8 ปี ลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ 30%
    • รถยนต์ที่ใช้งานตั้งแต่ 9 ปี ลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ 40%
    • รถยนต์ที่ใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ 50%

    2.ต่อภาษีรถยนต์ที่มี 7 ที่นั่งขึ้นไป ป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว

    ส่วนใหญ่รถประเภท 7 ที่นั่งขึ้นไป จะเป็นรถสำหรับการบรรทุกส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ 4 ประตู หรือรถบรรทุก โดยจะใช้น้ำหนักของรถยนต์ในการคำนวณราคาภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่าย

    ป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว
    น้ำหนักรถยนต์ (กิโลกรัม)ราคาภาษีรถยนต์ (บาท)
    50 - 750450
    751 - 1,000600
    1,001 - 1,250750
    1,251 - 1,500900
    1,501 - 1,7501,050
    1,751 - 2,0001,350
    2,001 - 2,5001,650

    3.ต่อภาษีรถยนต์ที่มี 7 ที่นั่งขึ้นไป ป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน

    รถยนต์ 7 ที่นั่งขึ้นไปประเภทนี้ จะเป็นรถยนต์สำหรับส่วนบุคคล ส่วนใหญ่จะเป็นรถครอบครัว หรือรถตู้ เป็นต้น และใช้น้ำหนักเป็นตัวคำนวณค่าภาษีรถยนต์

    ป้ายทะเบียนพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
    น้ำหนักรถยนต์ (กิโลกรัม)ราคาภาษีรถยนต์ (บาท)
    น้อยกว่า d>1,300
    มากกว่า >1,8001,600

    4.ต่อภาษีรถยนต์รถไฟฟ้า 

    การต่อภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั้น ก็มีวิธีคำนวณเช่นเดียวกับรถยนต์ชนิดอื่นๆ คือการคำนวณตามขนาดน้ำหนัก คำนวณได้ดังนี้ 

    รถยนต์ไฟฟ้า
    น้ำหนักรถยนต์ (กิโลกรัม)ราคาภาษีรถยนต์ (บาท)
    500150
    501 - 750300
    751 - 1,000450
    1,001 - 1,250800
    1,251 - 1,5001,000
    1,501 - 1,7501,300
    1,751 - 2,0001,600
    2,001 - 2,5001,900
    2,501 - 3,0002,200
    3,001 - 3,5002,400
    3501 - 4,0002,600
    4,001 - 4,5002,800
    4,501 - 5,0003,000
    5,001 - 6,0003,200
    6,001 - 7,0003,400
    7,000 ขึ้นไป3,600

    ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง

    ในการต่อภาษีรถยนต์นั้น จำเป็นต้องมีเอกสารเพื่อใช้เป็นเครื่องยืนยันถึงสถานะความเป็นเจ้าของ และสามารถเก็บภาษีรถยนต์ได้ถูกต้องตามประเภทของรถยนต์คันนั้นๆ โดยเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

  • คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (สามารถใช้ได้ทั้งตัวจริง และสำเนา)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ ตรอ. (ใช้ในกรณีที่รถมีการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป)
  • พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องไม่หมดอายุ
  • หากไม่ไปต่อภาษีรถยนต์ ผิดกฎหมายหรือไม่

    ในกรณีที่ไม่ได้ไปต่อภาษีรถยนต์ หรือภาษีรถยนต์ขาด ประเด็นนี้ถือว่าผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย หรือเรียกว่า ผิดกฎหมายนั่นเอง สิ่งที่ตามมานั่นคือ 

  • ต้องเสียค่าปรับ หากการเสียภาษีรถยนต์เลยกำหนดมาแล้ว จะโดนคิดค่าปรับเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ยิ่งปล่อยไว้นานหลายเดือน จำนวนค่าปรับก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  • ถูกระงับทะเบียน ในกรณีที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนานเกิน 3 ปี เจ้าของรถจะต้องดำเนินการขอป้ายทะเบียนรถใหม่ และต้องชำระภาษีรถยนต์ที่ค้างไว้ทั้งหมดด้วย แต่ในกรณีที่รถยนต์จอดอยู่กับที่ หรือต้องซ่อมเป็นเวลานาน สามารถยื่นขอระงับการใช้รถคันนั้นๆ ชั่วคราวได้ เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี 
  • ศึกษาวิธีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีจบไปแล้ว หากผู้ขับขี่รถยนต์ทุกท่านกำลังสนใจที่จะซื้อขายรถมือสอง อย่าลืมมาใช้บริการกับเราได้ที่เอ็นโซ่

    แชร์

    Share on Line

    บทความใกล้เคียง