สัญญาซื้อขายรถยนต์ คืออะไร? 4 เรื่องควรระวังก่อนตกลงทำสัญญา

สัญญาซื้อขายรถยนต์ คืออะไร? 4 เรื่องควรระวังก่อนตกลงทำสัญญา

ENNXO
/
Blog
/
สัญญาซื้อขายรถยนต์ คืออะไร? 4 เรื่องควรระวังก่อนตกลงทำสัญญา

แชร์

Share on Line
อัพเดทล่าสุด: 22 ส.ค. 2567

หลังจากที่คุณได้รถคันที่ถูกใจและเตรียมจะดำเนินการเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือคุณจะขายรถให้กับผู้อื่นก็ตาม คุณจำเป็นต้องรู้ว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์ คืออะไร รวมถึงศึกษารายละเอียดเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ด้านกฎหมาย เพื่อให้การซื้อชายรถยนต์คันดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง แต่รู้ไหมว่า มีหลายคนที่มักจะผิดพลาดกับเรื่องเหล่านี้ ENNXO รวบรวมเรื่องราวที่ต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายรถยนต์มาเป็นข้อมูลให้คุณ

car purchase contract

สัญญาซื้อขายรถยนต์ คืออะไร?

สัญญาซื้อขายรถยนต์ คือแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายรถยนต์ที่บันทึกรายละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการซื้อขายในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อขายรถมือหนึ่ง รถมือสอง หรือการซื้อขายรถในรูปแบบอื่นๆ รวมถึงรูปแบบในการชำระเงิน ทั้งแบบผ่อนชำระ ดาวน์ หรือมัดจำเงินสด โดยคุณสามารถดาวน์โหลดสัญญาซื้อขายรถยนต์ได้ในรูปแบบออนไลน์ทั้งไฟล์ Word และ PDF จากนั้น คุณก็กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อนำใบสัญญาซื้อขายไปยื่นกับกรมการขนส่งทางบกได้อย่างถูกต้อง

สัญญาซื้อขายรถยนต์ จำเป็นมากแค่ไหน?

สัญญาซื้อขายรถ จำเป็นมากสำหรับการซื้อขายรถยนต์ในทุกกรณี เพราะสัญญาซื้อขายรถยนต์เป็นเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันหากเกิดปัญหาในภายหลัง ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายรถก็ตามที สัญญาซื้อขายรถยนต์ที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องอาจจะทำให้ติดปัญหาและไม่สามารถโอนรถได้ โดยเฉพาะช่องว่างหรือการผิดพลาดใด ๆ ในสัญญาซื้อขายรถอาจจะเปิดช่องโหว่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์ได้เลย

สัญญาซื้อขายรถยนต์ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีอะไรบ้าง?

สัญญาซื้อขายรถยนต์หรือใบซื้อขายรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเป็นจะต้องมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน ดังนี้

  • วัน-เวลา-สถานที่ชื่อนามสกุลของผู้ซื้อและผู้ชายรถ
  • หมายเลขทะเบียน สี เลขเครื่องยนต์ รหัสตัวถัง ฯลฯ
  • รูปแบบการชำระเงิน เช่น วางมัดจำหรือการชำระเงินสด ฯลฯ
  • ราคาตกลงซื้อขาย
  • รูปแบบการส่งมอบรถยนต์
  • ลายเซ็นต์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
  • เงื่อนไขในการรับประกันหลังการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี)

สัญญาซื้อขายรถยนต์ กรณีโอนลอย ควรทำอย่างไร?

กรณีที่คุณจำเป็นต้องโอนลอยรถมือสอง สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การตรวจสอบสภาพรถยนต์และเอกสารต่าง ๆ ตามขั้นตอนที่กล่าวมา อีกทั้งผู้ซื้อต้องแน่ใจด้วยว่า ผู้ขายจัดเตรียมและลงนามในเอกสารคำขอและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนใบมอบอำนาจที่ต้องมีลายเซ็นต์ของผู้ขายตรงในช่องผู้มอบอำนาจ พร้อมระบุว่า ใช้สำหรับการโอนรถยนต์หรือแจ้งย้าย นอกจากนี้ ในเอกสารต้องระบุหมายเลขทะเบียนรถและควรขีดคร่อมในบรรทัดอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัย

4 เรื่องควรระวัง เมื่อต้องทำสัญญาซื้อขายรถยนต์

สัญญาซื้อขายรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ก่อนจะทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ คุณจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารและรายละเอียดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เรารวบรวมเรื่องควรระวังเมื่อต้องทำสัญญาซื้อขายรถยนต์มาฝาก

1.เอกสารถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย

สัญญาซื้อขายรถยนต์จะต้องมีเอกสารสำคัญที่ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้

  • ทะเบียนรถยนต์ หรือสมุดคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง: ตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ของรถยนต์คันที่ต้องการซื้อขายให้ตรงกับเล่มทะเบียน ไม่ว่าจะเป็น สีตัวถังรถ, เลขเครื่องยนต์, เลขตัวถัง, ประวัติการต่อภาษี, ประวัติการครอบครอง, การโอนกรรมสิทธิ์, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทะเบียนต่าง ๆ เพื่อใช้แนบในสัญญาซื้อขาย

** Tips: ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุดให้ตรงกับกรรมสิทธิ์ผู้ขาย และต้องตรงกับที่ระบุในเอกสารซื้อขายรถยนต์ทุกฉบับ กรณีที่ผู้ขายรถคันดังกล่าวไม่ใช่ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด จำเป็นต้องมีหลักฐานมาแสดงว่า บุคคลดังกล่าวได้รับการมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้อง

  • หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์: ควรมี 2 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้ง 2 ฝ่าย และควรใช้แบบฟอร์มซื้อขายรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
  • ใบโอนและรับโอน: ใบโอนและใบรับโอนควรกรอกข้อมูลของรถคันที่ทำการซื้อขายให้ครบถ้วน โดยทางผู้ขายหรือเจ้าของรถจะต้องเซ็นชื่อตรงผู้โอน ส่วนผู้ซื้อต้องเซ็นชื่อตรงผู้รับโอน ก่อนจะทำการแจ้งต่อนายทะเบียนให้ทำการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ
  • สำเนาบัตรประชาชน: สำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องตรงกับในเล่มทะเบียนรถ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือนามสกุล จำเป็นต้องมีเอกสารการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลแนบมาด้วยทั้งตัวจริงและสำเนา สำคัญที่สุดบัตรประชาชนจะต้องไม่หมดอายุ กรณีที่เป็นการซื้อขายรถยนต์ในนามบริษัทควรมีหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นหลักฐานแนบมาด้วยเช่นกัน

2. ตรวจเช็กสภาพรถให้ละเอียดก่อนทำสัญญาซื้อขายรถยนต์

การเช็กสภาพรถยนต์คันที่คุณต้องการจะซื้อถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าคุณซื้อรถมือสองที่ไม่มีการรับประกันยิ่งต้องตรวจเช็กสภาพอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจ เพราะหลังจากเสร็จสิ้นการซื้อขายรถแล้วคุณจะไม่สามารถเรียกร้องสิ่งใดได้ นอกเหนือจากข้อมูลที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายรถยนต์เท่านั้น

** Note: หมดกังวลเรื่องการซื้อรถมือสองจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเอ็นโซ่มีรถมือสองสภาพดี ราคาคุ้มค่า

3. เช็กความถูกต้องชัดเจนของลายเซ็นต์ในสัญญาซื้อขายรถยนต์

หลังจากเช็กสภาพรถ รายละเอียดต่าง ๆ และความถูกต้องครบถ้วนของสัญญาซื้อขายรถยนต์แล้ว ผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายต้องอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็นต์ ตรวจสอบเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ให้ครบถ้วน รวมถึงตรวจสอบลายเซ็นต์ของอีกฝ่ายด้วยว่า ถูกต้องและชัดเจนหรือไม่

โดยเฉพาะผู้ซื้อต้องเช็กลายเซ็นต์ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนรถ ว่าตรงกับลายเซ็นต์ของผู้ขายรถหรือไม่? กรณีที่ผู้ขายจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เอกสารทุกฉบับจะต้องมีตราประทับของบริษัทดังกล่าวอยู่ด้วย เพื่อยืนยันอำนาจในการนำรถมาขายนั่นเอง

** Noted: ควรเก็บใบสัญญาซื้อขายรถยนต์ และเอกสารทุกอย่างให้ดี โดยการทำสัญญาควรมีหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์อย่างน้อย 2 ฉบับ ซึ่งทุกฉบับต้องมีข้อความเหมือนกัน พร้อมลงลายเซ็นต์ของคู่สัญญาและพยานให้เหมือนกัน เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บสัญญาไว้เป็นหลักฐานป้องกันการฉ้อโกงในภายหลัง

4. ระวังการโอนลอย

การโอนลอย ในการซื้อขายรถยนต์ หมายถึง การที่คู่สัญญามีการลงชื่อในสัญญาซื้อขายหรือใบมอบอำนาจ แต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า จะไม่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ในทันที และไม่ไปทำธุรกรรมที่กรมขนส่ง (ขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้การโอนรถสมบูรณ์) ซึ่งการโอนลอยมักจะได้รับความนิยมในกลุ่มเต็นท์รถมือสอง เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการโอนจนกว่ารถคันดังกล่าวจะมีลูกค้ามาซื้อรถยนต์

อย่างไรก็ตาม การโอนลอยอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ขายรถได้ กรณีที่รถคันนั้นประสบอุบัติเหตุ ไม่เสียภาษีรถ หรือใช้เป็นยานพาหนะในการก่ออาชญากรรม เพราะผู้ถือกรรมสิทธิ์จะยังเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าว ในทางกลับกัน ถ้ายังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ครบถ้วน แต่ผู้ขายแจ้งความรถหายไว้ก็อาจจะโดนข้อหารับซื้อของโจรได้อีกด้วย วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ แนะนำให้ดำเนินการซื้อขายรถหรือโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่ง

แชร์

Share on Line

บทความใกล้เคียง