ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ENNXO
/
Blog
/
ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

แชร์

Share on Line
อัพเดทล่าสุด: 14 มิ.ย. 2567

ถ้าต่างประเทศมี Scream หน้ากากผี ประเทศไทยเราก็มี Phi Ta Khon ผีตาโขน ผีการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อโบราณของจังหวัดเลย ที่เรียกว่าคึกคักและได้รับความสนใจมากขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับเทศกาลผีตาโขน 2566 นี้ เราจะพาทุกคนมารู้จักเรื่องราว ประวัติ ตำนาน และความเชื่อเกี่ยวกับผีตาโขนกัน

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ผีตาโขนตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ก่อนอื่นเรามาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจกับ คำว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” ก่อน โดยฮีตสิบสองเป็นจารีตที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตามความเชื่อเก่าแก่ของผู้คนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแต่ละเดือนจนครบสิบสองเดือน ซึ่งฮีตสิบสองนี้เป็นประเพณีงานบุญประจำเดือนที่สอดแทรกทั้งความเชื่อดั้งเดิม และแนวคำสอนทางพุทธศาสนาซึ่งแต่ละเดือนจะเรียกต่างกันออกไป

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ผีตาโขนได้จัดขึ้นในช่วงเดือนแปด หรือประมาณเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต แต่เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด โดยผีตาโขนเป็นการละเล่นดั้งเดิมของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในฤดูกาลของประเพณีบุญหลวงงานบุญใหญ่ตามความเชื่อฮีตสิบสอง เรียกว่ากันว่าเป็นบุญใหญ่เพราะได้นำเอาบุญผะเหวด (บุญพระเวสสันดร) งานบุญประจำเดือนสี่กับบุญบั้งไฟของเดือนหกมารวมไว้ด้วยกัน และเรียกว่าบุญหลวง

ตำนานผีตาโขน

ผีตาโขน เพี้ยนมาจากคำว่า ผีตามคน หรือผีตาขน บ้างก็เรียกว่าผีโถน ตำนานเรื่องเล่าผีตาโขนมีมากมายหลายที่มา ตำนานแรกว่าด้วยการรับเอามาจากพิธีขอฝนจากเทพเจ้าในเมืองก่วงซี ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิง

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อกันว่าผีตาโขนเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อบรรพบุรุษตามตำนานปู่เยอ-ย่าเยอ ที่ถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารล้านช้าง เล่าถึง ณ เมืองแถน มีสองผู้เฒ่า  “ปู่เยอ-ย่าเยอ” เป็นผู้ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน จนมาวันหนึ่งมีเครือเขายักษ์บดบังแสงสว่างทำให้บ้านเมืองมืดมน และอากาศหนาวจัด ชาวบ้านเดือนร้อนไม่สามารถออกไปทำมาหากินประกอบเลี้ยงชีพได้ ผู้ดูแลทั้งสองได้อาสาไปขจัดปัญหานั้นเอง

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

จนทำให้บ้านเมืองสว่างสดใสอีกครั้ง แต่ทว่าสุดท้ายเครือนั้นได้ล้มลงมาทับสองปู่ย่าเสียชีวิต หลังจากนั้นทั้งสองก็ได้กลายมาเป็นดวงวิญญาณปกปักรักษาบ้านเมือง จึงเป็นตำนานผีตาโขนที่ชาวบ้านเชื่อถือและเล่าต่อๆ กันมา ซึ่งตำนาน “ปู่เยอ-ย่าเยอ” นี้เป็นตำนานความเชื่อโบราณของชาวลาวหลวงพระบาง

ในบันทึกทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าผีตาโขนนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อฮีตสิบสอง โดยผีตาโขนนี้ได้ยึดโยงความเชื่อที่หลากหลายเข้าด้วยกันทั้งความเชื่อโบราณในการบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ความเชื่อในหลักพุทธศาสนา รวมถึงความเชื่อในการขอน้ำขอฝนให้พืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

ความสำคัญของการละเล่นผีตาโขนกับความเชื่อของคนไทย

ผีตาโขนเป็นประเพณีการละเล่นที่ผสมผสานความเชื่อไว้มากอีกหนึ่งประเพณี ทั้งตำนาน เรื่องเล่า และวิถีปฏิบัติที่ยังยึดถือตามแบบโบราณดั้งเดิม คือ ขบวนการแห่ผีตาโขนเชื่อว่าเป็นการสรรเสริญดวงวิญญาณผู้ปกครองอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองด่านซ้าย และเป็นการแห่พระเวสสันดร รวมถึงเป็นการแห่บุญบั้งไฟขอฝนไปด้วย

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

โดยอีกนัยยะความเชื่อหนึ่งคือ ความสนุกเพลิดเพลินของการละเล่นผีตาโขนนี้จะทำให้สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองหลงระเริงกับเสียงเพลงเสียงแห่ในขบวนผีตาโขน ทำให้บ้านเมืองและชาวบ้านมีแต่ความสงบสุข บ้านเมืองร่มเย็น และชาวบ้านประกอบเลี้ยงชีพได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งตามความเชื่อแล้วผีตาโขนเป็นประเพณีที่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษจะคอยปกปักรักษาลูกหลาน และเสริมสร้างความสิริมงคลให้ชาวบ้านจากการร่วมบุญหลวงงานใหญ่

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง
ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง
ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง
ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

นอกจากนี้ประเพณีผีตาโขนเป็นการละเล่นที่มีการสวมหัวจำลองหรือใส่หน้ากากที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ โดยหน้ากากนั้นมีการวาดเขียนตกแต่งลวดลายที่แสดงออกถึงความน่ากลัว เพราะตามความเชื่อโบราณนั้นการแสดงออกเพื่อตอบแทนเทพเจ้า บรรพบุรุษ หรือสิ่งลี้ลับมักใช้การละเล่นเต้นรำเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ โดยมีหน้ากากหรือสวมหัวจำลองเป็นสื่อกลางสำคัญ

ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง
ผีตาโขน กับประเพณีบุญหลวงตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง

สำหรับใครที่สนใจหรืออยากไปเปิดประสบการณ์ร่วมเดินขบวนผีตาโขน 2566 คุณสามารถไปเป็นส่วนหนึ่งของความพิเศษที่แฝงความลี้ลับนี้ได้ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน และมีขบวนเดินในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ส่วนใครที่เคยไปเทศกาลผีตาโขนกันมาแล้วมาร่วมแชร์ประสบการณ์ดีๆ กันนะคะ

แชร์

Share on Line