3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 1
3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 2
3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 3
3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 4
3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 5
3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255 6
1 / 6
ถัดไป

3676 พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี 255

฿ 35,000
like icon
ถูกใจ
Social Sharing
แชร์

โพสต์เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

รายละเอียด

พระบูชารุ่นแรก ขนาด 9 นิ้ว พระชัยเมืองนครราชสีมา 12-16 สิงหาคม 2558 จ.นครราชสีม พระชูชาขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว สร้างจำนวน 999 องค์ --พระชัยเมืองนครราชสีมา เนื้อสัมริด เป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่บรรพกาล มีตำนานการสร้างเป็นของสมเด็จพนรัตน์วัดป่าแก้ว สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความหมายว่า "ชัยชนะ” โดยสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความหมายปราบมารได้ชัยชนะ ซึ่งเดิมใช้เพื่ออัญเชิญไปในกองทัพยามออกศึกสงคราม ต่อมาใช้ในพิธีกรรมเรียกว่า "พระชัยพิธี” สำหรับขจัดมาร อุปสรรคและอำนวยให้สำเร็จผล พระชัยเมืองนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ชนิดสำริด หน้าตักกว้าง ๑๕.๓ ซม. สูง ๒๒.๒ ซม. ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคดพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศกสองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำแบบศิลปะที่เรียกว่า พระพุทธรูปอู่ทอง ๒ มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี (รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓) ที่องค์พระโดยรอ เป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่าง ๆ เช่น พระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ที่องค์พระโดยรอบ ด้านหน้าที่พระอังสะกุฎด้านซ้ายจารึกตัวอักษร จ ที่พระนลาฏจารึกตัวอักษร ภ ที่พระศอ จารึกอักษร ก ที่พระอังสะกุฎด้านขวาจารึกตัวอักษร ส ที่พระอุระด้านซ้ายและขวา แถวที่ ๑ จารึกอักษร ๖ ตัว คือ อุ ก ส ถ สา รํ แถวที่ ๒ จารึกอักษร ๗ ตัว คือ พ ก อุ ก ผ สา รํ แถวที่ ๓ จารึกอักษร ๓ ตัว คือ อิ สวา สุ ย่อมาจากอิติปิโส ภควา, สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หัวใจพระรัตนตรัย พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ด้านข้าง พระพาหาซ้าย จารึกอักษร ๔ ตัว คือ น ม พ ท ที่พระพาหาด้านขวา จารึกอักษร ๔ ตัว คือ จ พ ก ส ด้านหลัง ตามแนวสังฆาฏิตั้งแต่พระอังสากุฎด้านซ้ายลงมา จารึกอักษร ๕ ตัว คือ น โม พุทฺ ธา ย คำว่า จะ ภะ กะ สะ โบราณเรียกว่า คาถากาสลัก ในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะ แต่งโดยท่านรัตนปัญญาเถระ ให้ความหมายไว้ว่า กำเนิดจาก พุทธธรรมมงคลสูงสุด ๓๘ ประการ อักษรแต่ละตัว ย่อจากพุทธสุภาษิต ดังนี้ จ ย่อมาจาก จช ทุชฺชนสํสคฺคํ จงหลีกเลี่ยงการคบคนพาล ภ ย่อมาจาก ภช สาธุสมาคมํ จงคบหาสมาคมกับคนดี ก ย่อมาจาก กร ปุญฺมโหรตฺตํ จงทำความดีทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจ ส ย่อมาจาก สร นิจฺจมนิจฺจตํ จงระลึกถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของสิ่งทั้งปวงตามธรรมชาติ คำว่า “นโม พุทฺธาย” นั้น เป็นคาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ จารึกย่อนามพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ทรงอุบัติในภัทรกัลป์นี้ คือ น หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทนอาโปธาตุ ธาตุน้ำ มีกำลัง ๑๒ โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทนปฐวีธาตุ ธาตุดิน มีกำลัง ๒๑ พุท หมายถึง พระกัสสปะ ใช้เขียนแทนเดโชธาตุ ธาตุไฟ มีกำลัง ๖ ธา หมายถึง พระสมณะโคดม ใช้เขียนแทนวาโยธาตุ ธาตุลม มีกำลัง ๗ ย หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย ใช้เขียนแทนอากาศธาตุ มีกำลัง ๑๐ เมื่อรวมกำลังธาตุทั้ง ๕ ก็จะเป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ การที่ใช้นามของพระพุทธเจ้าเขียนเป็นพระคาถาในยันต์ของพระเกจิอาจารย์แต่ละองค์จึงนิยมคำว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” มาใช้เป็นพระคาถาและเรียกว่า คาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือ แม่ธาตุใหญ่ มีพุทธคุณเหนือยันต์ทั้งปวง รวมทั้งมีความเชื่อสืบต่อกันว่า ผู้ใดที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบและมั่นคงแล้ว จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล พระชัย หรือ พระไชย เป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่บรรพกาล ปรากฎในพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา โดยกล่าวกันว่าตำนานการสร้างเป็นของสมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ที่เรียกว่าพระชัย เพราะมีความหมายว่า ชัยชนะ เนื่องด้วยแต่เดิมมีความมุ่งหมายเพื่ออัญเชิญไปในกองทัพยามออกศึกสงครามเพื่อชัยชนะ สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีความหมายว่าปราบมารได้ชัยชนะ ต่อมาพระชัยยังได้อัญเชิญใช้ในพิธีกรรม เรียกว่าพระชัยพิธี สำหรับขจัดมาร อุปสรรค อำนวยให้พิธีกรรมสำเร็จผล --ธนาคาร TMB สาขาพิบูลละเอียด 480-2-27769-1 ธวัชชัย โทร 0865519173 ,0820895374 ( ID line xiakorat) ส่งลงทะเบียน เพิ่ม 20.-บาท ส่ง EMS ด่วนเพิ่ม 50.-บาทครับ

อ่านเพิ่มเติม