พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก...เก่าเดิมๆ...สวยแชมป์
โพสต์เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา
- ชื่อพระพระนางพญา
รายละเอียด
พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ หากจะแบ่งตามขนาดจะเรียกว่า "นางใหญ่" ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พิมพ์อกนูนใหญ่ ส่วน "นางเล็ก" ได้แก่ พิมพ์อกนูนเล็ก พิมพ์สังฆาฏิ และพิมพ์เทวดาหรือพิมพ์อกแฟบ สำหรับพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพระนางพญาด้วยกัน ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง ซึ่งเรียกจากพุทธสรีระของพระเพลา และพระชานุที่มีลักษณะโค้งเล็กน้อย เป็นศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระเครื่องพุทธลักษณะศิลปะสุโขทัย พิมพ์มารวิชัย พระหัตถ์ขวาจะพาดที่หัวเข่า พระหัตถ์ซ้ายจะวางตรงหน้าตัก หน้าตักหรือส่วนขาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย คล้ายเรือสำเภา วงการพระจึงขนานนามว่า "พิมพ์เข่าโค้ง" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงนำพระนางพญา จากจังหวัดพิษณุโลกมาบรรจุกรุไว้ที่กรุงเทพมหานคร มีการพบพระนางพญาในกรุวังหน้าและกรุวัดสังกัจจายน์ จะมีการลงรักปิดทองงดงาม ส่วนพระนางพญาพิษณุโลกพบที่วัดอินทร์ฯ จะมีสนิมเหล็กเคลือบอยู่ สาเหตุก็เพราะพระถูกบรรจุในบาตรภายในพระเจดีย์ การตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะตัดค่อนข้างชิดกับองค์พระท่าน จนส่วนใหญ่จะตัดปลายหูขององค์พระและหัวเข่าขององค์พระขาดหายไปบ้าง เนื้อที่บริเวณปีกด้านข้างขององค์พระจะมีน้อยมาก เฉพาะพระพักตร์ขององค์พระท่านส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีศิลปะเกลี้ยงๆ ไม่มีหน้าตาชัดนัก ลักษณะของตา จมูก และปากของพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะมีแผ่วบางเท่านั้น ไม่ชัดเจนเหมือนพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง อย่างไรก็ตามจะต้องพิจารณาถึงศิลปะบนพระพักตร์ของพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในทุกพิมพ์ ถึงจะมีตา จมูก และปาก แต่ศิลปะของพระนางพญาจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม