



นางพญา พิมพ์เทวดา เนื้อเขียว
โพสต์เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา
- ชื่อพระพระนางพญา
รายละเอียด
พระนางพญา พิมพ์เทวดา เนื้อเขียว พระนางพญาพิมพ์เทวดา เรียกกันมาแต่เดิมว่า พิมพ์อกแฟบ เป็นนางพญาที่จัดเข้าประเภทพิมพ์เล็ก มีความงดงามขนาดเล็กเหมาะกับการเข่าชุดเบญจภาคีเคียงข้างกับพระรอด ขอให้สังเกตเนื้อพระที่เป็นสีเขียว เป็นพระที่ผ่านการเลี่ยมอาราธนาคล้องคอในยุคเก่าที่นิยมเลี่ยมแบบเปิดหน้าเปิดหลังเพือให้เนื้อพระสัมผัวร่างกาย แต่เนื่องจากเป็นพระที่เนื้อหาแกร่งจัด ตามแบบฉบับของพระเนื้อเขียวจึงไม่มีการสึกหรอมาก ลักษณะของคราบสีแสดที่ติดแน่น เกิดจากแคลเซี่ยมผสมสนิมเหล็กในพื้นดิน แคลเชี่ยมจะมีลักษณะชอบจับหินปูนด้วยกัน จากลักษณะและสีของคราบ ในยุคเก่าท่านเปรียบเทียบเรียกว่า คราบมันปู พระนางพญาเนื้อเขียวจะมีคราบมันปูจับแนบแน่นกับเนื้ออย่างสนิท เนื้อสีอื่นจะไม่ปรากฏคราบแคลซี่ยมสีมันปูจับเลย จะปรากฏเฉพาะพระเครื่องเนื้อเขียวเท่านั้น ยิ่งเป็นพระเครื่องสูงอายุ เช่น พระรอด พระคงสีเขียว คราบยิ่งจับแน่น ( ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๒ ตรียัมปวาย ๒๔๙๗ )
อ่านเพิ่มเติม