![พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่หลวงสิทธิการ](https://cdn.ennxo.com/uploads/products/640/9aa1d602b716405cba2cfcf32c82c6db.jpg)
![พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่หลวงสิทธิการ](https://cdn.ennxo.com/uploads/products/640/d7315f624f7d407b9fcb3476ce2d653f.jpg)
![พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่หลวงสิทธิการ](https://cdn.ennxo.com/uploads/products/640/1310d02db9eb4054b8fa221ad3291a99.jpg)
![พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่หลวงสิทธิการ](https://cdn.ennxo.com/uploads/products/640/8f7a44ee15f446c8b8dbd93d8a15abf7.jpg)
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่หลวงสิทธิการ
โพสต์เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา
- ชื่อพระพระสมเด็จ
- ปี
2300
รายละเอียด
พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่พระประธาน (ยุคกลาง หลวงสิทธิการ) (738) ถ้าจะกล่าวถึงพระที่ได้รับความนิยมและเป็นพระตำนานตลอดกาลแห่งประเทศไทย ก็คงหนีไม่พ้นพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความเข้มขลังและได้รับความนิยมตั้งแต่โบราณและการยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน แต่ความนิยมของพระสมเด็จวัดระฆังนั้นก็ไม่ได้ ลดน้อยถอยลงไปแม้แต่อย่างใด เนื่องด้วยพุทธคุณที่มีความโดดเด่นในทุกๆด้าน ทำให้นักสะสมพระเครื่องและผู้ที่มีความศรัทธาต่างกัน หาพระสมเด็จวัดระฆังมาครอบครองเพื่อบูชา และหวังพึ่งบารมีของพุทธคุณจากพระสมเด็จวัดระฆังช่วยคุ้มครอง ช่วยรักษา ช่วยทำให้มีกินมีใช้ไม่ขัดสน ช่วยปกป้องในยามเดินทางให้แคล้วคลาดปลอดภัย จะว่าไปแล้วที่ผมศึกษามาบ้างทราบว่า พระสมเด็จวัดระฆังนั้น หากเราแบ่งเป็นยุคในการสร้างบล็อกแม่พิมพ์ ก็จะสามารถแบ่งเป็นยุคใหญ่ๆได้ 3 ยุค ซึ่งได้แก่ อันดับที่ 1 หลวงสิทธิการ อันดับที่ 2 หลวงวิจิตรนฤมล อันดับที่ 3 หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งพระในแต่ละยุคนั้นก็มีการสร้างแบบแม่พิมพ์แยกย่อยที่มีความแตกต่างกันมากมาย จนทำให้ผู้ที่เรียนรู้และศึกษาใหม่นั้น ต้องมีความเพียรและความขยันในการหมั่นศึกษาแม่พิมพ์ของแต่ละยุค ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หากมองในกลุ่มของเซียนใหญ่ พระสมเด็จวัดระฆังนั้น ราคาก็กระโดดไปไกลถึงหลักล้านไปจนถึง 10 ล้าน โดยส่วนมากพิมพ์นิยมกลุ่มเซียนก็จะถูกสร้างขึ้นในยุคปลาย ซึ่งเป็นยุคแม่พิมพ์ที่สร้างโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย ถึงแม้แม่พิมพ์จะถูกสร้างโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งการสร้างนั้นก็ยังมีแม่พิมพ์ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยแยกย่อยสร้างไว้อย่างหลากหลาย แม่พิมพ์ แต่มีบางแม่พิมพ์เท่านั้นที่กลุ่มเซียนนิยมแล้วเลือกสรร เพื่ออ้างว่านั่นคือพระสมเด็จแท้ และแม่พิมพ์อื่นๆนั้นพวกเขาอ้างว่านั้
อ่านเพิ่มเติม