ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

ENNXO
/
Blog
/
ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

แชร์

Share on Line
อัพเดทล่าสุด: 14 มิ.ย. 2567

บอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า ในยุคสมัยที่อะไรก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่แน่นอน มนุษย์อย่างเราๆ จึงพยายามค้นคว้าหาสิ่งต่างๆ เพื่อใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่ามนุษย์แต่ละคนก็จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสบายใจ และสภาพแวดล้อมของตนเองที่เติบโต หรืออาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในรูปแบบของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง กำไลมูเตลู การเข้าไปสักการะพระพุทธรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำย่าน หรือแม้กระทั่งการเลือกสวมเสื้อที่มีสีตรงกับตารางสีเสื้อมงคลประจำวันที่ช่วยให้การเงิน และการทำงานดำเนินการไปอย่างราบรื่น

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

เช่นเดียวกันกับประเทศไทย หรือที่เรียกได้ว่าเป็นประเทศเมืองพุทธนั้น มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเลยที่ใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เวลาใดก็ตามที่เราเริ่มรู้สึกมีความทุกข์ การที่ได้ทำจิตใจตนเองให้สงบ และทราบว่ามีที่พักพิงจิตใจ สามารถหันเข้าหา และกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่ใครต่อใครหลายคนทำกันเพื่อความสบายใจ บนวิจารณญาณของแต่ละคน

พระเครื่อง” เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่ผู้คนต่างนิยมกราบไหว้ และมีพกติดตัวกันเพื่อความสบายใจส่วนบุคคล ด้วยความที่พระเครื่องเอง เป็นวัตถุมงคลที่มีขนาดเล็ก พกพาง่าย และอยู่ในรูปแบบของสิ่งที่มีรูปร่างเหมือน “พระพุทธรูป” หรือสิ่งที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่คนนิยมกราบไหว้บูชา

คำว่า ”พระเครื่อง” จึงใช้เรียกสิ่งที่เป็นเหมือนวัตถุมงคลที่ลดขนาดของพระพุทธรูป เป็นวัตถุมงคลโดยเป็นการลดทอนจากคำว่า “พระเครื่องราง” ที่หมายถึง รูปแทนพระพุทธเจ้าในรูปแบบของพระหล่อโลหะ และพระพิมพ์นั่นเอง การที่เปลี่ยนจากรูปแบบของพระพุทธรูป มาเป็นพระเครื่องขนาดเล็กนั้น ทำให้ผู้คนสามารถพกพาพระเครื่องไปไหนต่อไหนเพื่อสักการะได้อย่างง่ายดาย

พระเครื่องที่ถูกค้นพบในประเทศไทยมักพบเจอตามถ้ำ การขุดขึ้นจากในดิน รวมถึงยังมีที่พระเครื่องที่ถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งพระเครื่องแต่ละรุ่นที่ถูกค้นพบก็มีวัสดุที่ใช้ในการผลิตที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ นิยมใช้ 4 วัสดุดังกล่าวนำมาสร้างเป็นพระเครื่องคือ ชิน ดิน ว่าน และผง

พระเนื้อดิน

พระเนื้อดิน คือพระเครื่องที่ทำมาจากเนื้อของดินเหนียว ถือว่าเป็นพระที่มีการสร้างที่เก่าแก่ กระบวนการการทำพระเนื้อดิน คือการขึ้นรูปด้วยการกดด้วยแม่พิมพ์ จากนั้นก็นำเข้าเผา การเผาที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันทำให้พระเครื่องเนื้อดินนี้มีสีที่แตกต่างกัน อย่างพระเครื่องเนื้อขาวปนชมพูที่เรียกว่าสีเม็ดพิกุล หรือพระเครื่องสีขาวนวลต่างๆ ก็คือพระเครื่องที่ผ่านกระบวนการเผาด้วยไฟที่อ่อน ส่วนหากเนื้อดินเป็นสีเขียวหรือดำ คือพระเครื่องที่ผ่านกระบวนการเผาด้วยไฟที่แรง

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

พระเนื้อผง

พระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อรูปต่างๆ ประจำแต่ละวัด โดยใช้ผงพุทธคุณ และอักขระเลขยันต์ต่างๆ ตามเอกลักษณ์ และปลุกเสกด้วยความขลังเฉพาะตัว

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

พระเนื้อชิน

พระเครื่องเนื้อชิน คือพระเครื่องที่ใช้ส่วนผสมในการทำและยึดหลักมาจากโลหะผสมกับตะกั่ว โดยตามพจนานุกรม คำว่าชินนั้น หมายถึงแร่ตะกั่วแห่งหนึ่ง มักจะพบตามกรุเก่า มีอายุนับร้อยปี โดยพระเนื้อชินก็แบ่งออกเป็นสามประเภทคือ

เนื้อชินตะกั่ว: เป็นพระเครื่องที่มีแร่ตะกั่วเป็นวัสดุมากกว่าธาตุอื่นๆ และอาจเกิดสนิมได้ง่ายเมื่อมีอายุมาก พระเนื้อชิ้นตะกั่วจะมีรูปแบบการแตกออกมาคล้ายสัญลักษณ์ของใยแมงมุม

เนื้อชินเขียว: พระเนื้อชินที่ผสมระหว่างแร่ตะกั่ว แร่สังกะสี จึงทำให้ตัวพระเครื่องมีสีออกไปทางสีเขียวที่ปนกับสีดำ เมื่อพระเครื่องมีอายุมากขึ้น ตัวเนื้อพระเครื่องก็จะกลายเป็นสีดำตามปฏิกิริยาทางธรรมชาติ

เนื้อชินเงิน: เนื้อพระชินสีขาวที่เกิดจากส่วนผสมของดีบุก และตะกั่ว

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

พระเนื้อว่าน

ด้วยความที่ว่านเป็นต้นไม้สิริมงคลในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน และเป็นพืชคู่เมืองไทยมานาน โดยกระบวนการการทำพระเนื้อว่านจะเป็นการตัดรูปทรงของตัวพระเครื่องบนว่าน เมื่อว่านแห้ง ตัวพระเครื่องก็จะมีความแข็ง ส่วนลวดลายก็เกิดจากเนื้อว่านที่หดลง เนื้อว่านมีคุณสมบัติทำให้หนังเหนียว ทำให้พระเครื่องเนื้อว่านจะสามารถอยู่ได้นาน

ประเภทของเนื้อพระ มีกี่เนื้อ อะไรบ้าง?

พระเนื้อโลหะ

คือพระเครื่องที่นำส่วนผสมที่สำคัญมาผสมรวมกับโลหะ ยกตัวอย่างเช่นพระเนื้อทองคำ พระเนื้อตะกั่ว พระเนื้อเงิน และพระเนื้อทองแดง อย่างพระรูปหล่อ พระกริ่ง พระเหรียญต่างๆ

สิ่งที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเท่านั้น เพราะในปัจจุบัน เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงรูปแบบของสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของใครหลายคนในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการที่เรามีบุคคลที่ตนเองรักเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต การมีบุคคลที่เราเห็นเป็นตัวอย่าง และมองเขาเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิต

ซึ่งก็มีคนไม่น้อยเลยที่ใช้ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของตัวเองเป็นวันหยุดที่ตัวเองรอคอยในทุกๆ ปี ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบสิ่งของที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม แต่ละคนล้วนมีปัจจัยในการเลือกสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แตกต่างกันทั้งสิ้น หากอ่านบทความนี้แล้วสนใจเช่า-ขายพระเครื่อง สามารถเข้าไปสมัครสมาชิก และลงประกาศขายที่ ENNXO.COM ได้เลยวันนี้ ลงประกาศฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

แชร์

Share on Line

บทความใกล้เคียง